Latest News

ตั้งค่าระบบเครือข่ายบนวินโดวส์ 7

Posted by KM IT วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552, under | 1 ความคิดเห็น


ไมโครซอฟท์พยายามบนวินโดวส์หลายเวอร์ชันมานานมากแล้ว เพื่อที่จะทำให้การตั้งค่าระบบเครือข่ายภายในบ้านนั้นเป็นไปอย่างง่ายดาย เชื่อมต่อได้อัตโนมัติ และก็สามารถแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ได้สะดวก ในที่สุดก็มาประสบความสำเร็จในวินโดวส์ 7 ด้วยคุณสมบัติที่เรียกว่า "HomeGroup"
networking windows7

เลือกชนิดของระบบเครือข่าย - คุณต้องเป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่ายแบบ Home ถึงจะเข้าใช้โฮมกรุ๊ปได้

โฮ มกรุ๊ป (HomeGroup) ช่วยผู้ใช้ในการสร้างระบบเครือข่ายภายในบ้านด้วยฟังก์ชันการเข้าถึงและแชร์ ข้อมูลเพียบพร้อมและยืดหยุ่น ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในคุณสมบัติใหม่ที่น่าสนใจมากบนวินโดวส์ 7 และนั่นก็หมายถึงว่า ผู้ใช้วินโดวส์วิสต้า เอ็กซ์พี แมค และลินุกซ์ คงไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับความสะดวกสบายที่ว่า
วินโดวส์ 7 ช่วยเราในการสร้างระบบเครือข่ายได้ 3 รูปแบบ - Home, Work และ Public หรือก็คือเครือข่ายภายในบ้าน ที่ทำงาน และที่สาธารณะ แต่ในการใช้งานโฮมกรุ๊ปนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพีซีบนระบบเครือข่ายทุก เครื่องตั้งค่าการเชื่อมต่อเอาไว้เป็นแบบ Home เท่านั้น ซึ่งในการตั้งค่าที่ว่าบนวินโดวส์ 7 ก็สามารถทำได้โดยไปที่คอนโทรลพาเนล แล้วเลือก Network and Internet จากนั้นก็เลือก Network and Sharing Center (หรือใครอยากจะใช้วิธีลัดด้วยการคลิกขวาที่ไอคอนเน็ตเวิร์กบนซิสเต็มเทรย์ มุมล่างขวาของหน้าจอเพื่อเข้าสู่ Network and Sharing Center ก็ได้เช่นกัน) และท้ายสุดก็คือดูให้แน่ใจว่าเราได้เลือกค่าเอาไว้เป็น "Home network" ภายใต้ไอคอนระบบเครือข่าย หากยังไม่ใช่ก็คลิกที่ลิงก์ "Public network" หรือ "Work network" แล้วเปลี่ยนให้เป็น "Home network" แทน

เพียงแค่นี้เราก็สามารถสร้างโฮมกรุ๊ปได้แล้ว ซึ่งที่จริงหลังจากที่เราเปลี่ยนระบบเครือข่ายเป็นแบบภายในบ้านหรือ Home วินโดวส์ 7 ก็จะพาเราไปยังหน้าต่างสำหรับตั้งค่าอย่าง Create a homegroup เพื่อสร้างโฮมกรุ๊ปใหม่ขึ้นมา หรือถ้าได้เลือก Home เอาไว้อยู่แล้ว ก็คลิกที่ลิงก์ Choose homegroup and sharing options แล้วตามด้วย Create ได้เลย

ขั้นตอนต่อไปก็คือ การเลือกชนิดของไฟล์ที่ต้องการแบ่งปันกันกับสมาชิกคนอื่นในโฮมกรุ๊ป ก็มีให้เลือกตั้งแต่รูปภาพ เพลง วิดีโอ ไฟล์เอกสาร หรือแม้แต่การแชร์เครื่องพิมพ์ โดยตัวเลือกเหล่านี้จะสอดคล้องกับไลบรารี (library) ที่วินโดวส์ 7 สร้างขึ้นตามค่าดั้งเดิมตอนติดตั้งระบบปฏิบัติการลงบนคอมพิวเตอร์ และก็รวมไปถึงโฟลเดอร์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นโดยผู้ใช้แต่ละคนในยูสเซอร์โพรไฟล์ด้วย

สิ่งที่เรากำลัง ทำอยู่ตอนนี้ความจริงแล้วก็คือ การแบ่งปันไฟล์ต่างๆ ที่อยู่บนพีซีของเราให้กับผู้ใช้คนอื่นๆ ที่อยู่บนโฮมกรุ๊ปให้สามารถเข้าถึงได้ ตัวอย่างเช่น โฟลเดอร์ c:UsersxxxxPictures หรือ c:UsersxxxxMusic และก็รวมไปถึงโฟลเดอร์อย่าง c:UsersPublic ด้วย โดยผู้ใช้สามารถเพิ่มโฟลเดอร์ต่างๆ ที่ต้องการแชร์ได้มากตามต้องการ

หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้ วินโดวส์ 7 ก็จะเปิดโอกาสให้เราตั้งค่ารหัสผ่านสำหรับเข้าใช้โฮมกรุ๊ปได้ ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่าพีซีเครื่องอื่นๆ ที่ต้องการใช้งานโฮมกรุ๊ปก็จำเป็นต้องทราบรหัสผ่านนี้ด้วยเช่นกัน ฉะนั้นเก็บรักษารหัสผ่านให้ดีๆ (อาจใช้วิธีไฮไลต์เลือกแล้วก็ก๊อบปี้ไปเก็บไว้ในเท็กซ์ไฟล์หรือส่งเป็นอี เมล์ไว้ในอินบ็อกซ์ของเราก็ได้) หรืออาจสั่งพิมพ์ออกมาไว้ซักชุดยามฉุกเฉิน และจะได้ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการตั้งค่าให้กับผู้ใช้คนอื่นๆ บนโฮมกรุ๊ปเดียวกันด้วย

หลังจากเราคลิก Finish เพื่อเสร็จสิ้นการตั้งค่า คำสั่ง Change homegroup settings เป็นส่วนที่เปิดโอกาสให้เราเปลี่ยนรหัสผ่านหากเปลี่ยนใจอยากกำหนดใหม่ รวมไปถึงการเข้าถึงการตั้งค่าชั้นสูงในหน้า Advanced Sharing Settings ด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่ยังทำไม่น้อยอย่างน้อยก็ในตอนนี้ก็คือ การปรับเพิ่มไลบรารี โฟลเดอร์ หรือไฟล์ในโฮมกรุ๊ป ซึ่งก็น่าแปลกใจพอสมควรที่ไมโครซอฟท์มองข้ามตรงนี้ไป ทั้งที่สิ่งต่างๆ บนโฮมกรุ๊ปควรถูกปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่นที่สุด
networking windows7

ตัว เลือกบนโฮมกรุ๊ป - ในส่วน Change homegroup settings เราสามารถเปลี่ยนรหัสผ่านและเรียกใช้การกำหนดค่าชั้นสูงอย่าง Advanced Sharing

แม้จะยังไม่จำเป็นนัก แต่ถึงตรงนี้แล้วก็ลองแวะเข้ามาที่ Advanced Sharing Settings ดูสักนิดด้วยการคลิก Change advanced sharing settings แล้วเลือกลูกศรชี้ลงที่อยู่ข้างๆ Home หรือ Work
ตรงจุดนี้เราจะเห็นตัว เลือกอีก 6 ตัว ที่ระบุถึงรูปแบบการตั้งค่าระบบเครือข่ายภายในบ้านของวินโดวส์ 7 (ที่จริงแล้วระบบเครือข่ายทุกแบบบนวินโดวส์ 7 ก็ใช้การตั้งค่าเบื้องต้นในลักษณะเดียวกันนี้) โดยจุดที่น่าสนใจที่สุดอยู่ในกรอบ Advanced Sharing ก็คือ การกำหนดค่าการค้นหาคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่าย (network discovery - ทำให้พีซีเครื่องอื่นสามารถมองเห็นคอมพิวเตอร์ของคุณได้) การแชร์ไฟล์และเครื่องพิมพ์ และการแชร์สื่อข้อมูลต่างๆ ซึ่งหากไม่ได้เลือกค่าเหล่านี้ไว้ เราก็แทบจะไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรจากโฮมกรุ๊ปเลย...เราจะไม่มีโอกาสได้ใช้ คุณสมบัติที่ทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลบนคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ ภายในบ้านเป็นไปอย่างราบรื่นผ่านศูนย์กลางที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหลักหรือบน ฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่เฉพาะในการเก็บข้อมูลส่วนกลางของสมาชิกใน บ้าน

หลังจากที่เราได้สร้างโฮมกรุ๊ปขึ้นมา คอมพิวเตอร์ที่มองเห็นเครือข่ายของเราก็สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกในโฮมกรุ๊ป ได้ โดยผู้ใช้แต่ละเครื่องเพียงแค่ไปเรียก Network and Sharing Center ขึ้นมาจากคอนโทรลพาเนล แล้วคลิกที่ Choose homegroup ซึ่งจะมีคำถามปรากฏขึ้นมาเพื่อยืนยันในการเข้าเป็นสมาชิกโฮมกรุ๊ปว่า "Do you want to join a homegroup?" พร้อมด้วยรายชื่อโฮมกรุ๊ปที่มีอยู่ จากนั้นก็คลิกที่ Join Now เพื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ

หลังจากที่เรา เข้าไปสมาชิกในโฮมกรุ๊ปแล้ว จะมีลิงก์ที่เชื่อมไปยังหน้าช่วยเหลือของวินโดวส์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การเข้าถึงไฟล์และทรัพยากรต่างๆ บนโฮมกรุ๊ป ซึ่งก็ช่วยเหลือได้อย่างดีสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ค้นเคยกับการแชร์ข้อมูลต่างๆ ลักษณะนี้มาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ยังไม่รู้จักวิธีแชร์ไฟล์ของตัวเองให้กับคน อื่นๆ
networking windows7

แบ่งปันไลบรารี - คลิกขวาที่ไลบรารีแล้วเลือก Share With เพื่อกำหนดค่าในการเปลี่ยนรูปแบบการแชร์ไลบรารีให้กับผู้ใช้คนอื่นๆ

โดย ปกติแล้วไลบรารีต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ตอนติดตั้งวินโดวส์ 7 จะถูกแบ่งปันบนโฮมกรุ๊ปโดยทันที แต่อย่างที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ไม่เฉพาะไลบรารีเหล่านี้เท่านั้นที่เราแชร์ให้กับคนอื่นๆ ได้ เราสามารถกำหนดการแชร์ทรัพยากรได้ด้วยตัวเอง โดยให้เรียกไลบรารีขึ้นมาจากทาส์กบาร์และเลือกไปยังส่วนที่เราต้องการแบ่ง ปัน จากนั้นก็คลิกขวาแล้วเลือก Share With Homegroup ซึ่งจะมีตัวเลือกให้เลือกอีก 2 แบบด้วยกัน คือ อ่านอย่างเดียว และอ่านและเขียนไฟล์ข้อมูลได้ หมายความว่าหากเราไม่อยากให้คนอื่นเข้ามาแก้ไขอะไรในนี้ก็เลือกเป็น อ่านอย่างเดียว แต่ถ้าต้องการให้ไลบรารีที่ว่าเปิดกว้างสำหรับผู้ใช้คนอื่นๆ อย่างเต็มที่ อ่าน/เขียน ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

ความจริงเราสามารถแชร์โฟลเดอร์ และไฟล์ไปไว้บนโฮมกรุ๊ปได้ แต่แนวทางที่ดีกว่าก็คือ โยนโฟลเดอร์เหล่านั้นไปไว้บนไลบรารี แล้วใช้วิธีการแชร์ไลบรารีน่าจะเข้าท่ากว่า อย่างน้อยก็สะดวกในการจัดการสิ่งต่างๆ ในภายหลังมากกว่าวิธีอื่นๆ





ที่มา :http://www.beartai.com/webboard/index.php?topic=72496.0

การเรียนให้สำเร็จในมหาวิทยาลัย

Posted by KM IT วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552, under | 4 ความคิดเห็น


1. รู้จักเป้าหมายของการเรียน และจุดประสงค์ที่สำคัญ คืออะไร
2. รู้จักปัญหา และแนวทางที่จะได้แก้ไขปัญหานั้น ๆ รู้จักวิธีการแก้ไขที่ถูกต้อง และเหมาะสม
3. รู้จักการบริหารเวลา
4. สามารถรู้จักการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. หมั่นจดบันทึกจากการฟังบรรยาย เพื่อกันการหลงลืม
6. ศึกษาค้นคว้าอยู่สม่ำเสมอ
7. ฝึกการนำเสนอได้อย่างดี
8. มีความพร้อมในการสอบ และมีการเตรียมการที่ดี


เคล็ดลับเพื่อการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
1. รับผิดชอบ
– รับผิดชอบตนเอง ไม่ยืมจมูกคนอื่นหายใจ เป็นผู้ชนะจากความสามารถของตน
2. เริ่มต้นดี
- ช่วงเดือนแรกในรั้วมหาวิทยาลัย ถือเป็นช่วงวิกฤตของน้องใหม่ หากเริ่มต้นดี ความสำเร็จจะไม่อยู่ไกลเกินเอื้อม
3. กำหนดเป้าหมายในการเรียนอย่างแน่วแน่
- กำหนดเป้าหมายในการเรียนให้ชัดเจน ทั้งระยะสั้น และระยะยาว และทุ่มเทความพยายามให้บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ จึงจะประสบผลสำเร็จ
4. วางแผน และจัดการ
- มีการวางแผน จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่ต้องทำ หากทำตารางเวลาเป็นรายสัปดาห์ได้ยิ่งดี
5. มีวินัยต่อตนเอง
– เมื่อกำหนดเป้าหมาย วางแผน และจัดการ ตามข้อ 4 และ 5 แล้วต้องสัญญากับตนเองอย่างแน่วแน่ที่จะมีวินัย และปฏิบัติตาม
6. อย่าล้าสมัย
- วิทยาการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การค้นคว้าหาความรู้ ต้องอิงกับข้อมูลที่ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์
7. ฝึกฝนตนเองให้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
– ศึกษาข้อเสนอแนะในคู่มือเล่มนี้ และฝึกทักษะการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ติดตัวตลอดไป
8. เตรียมพร้อม เพื่อเข้าสู่ชั้นเรียน
– เตรียมตัวเป็นผู้ใฝ่หาความรู้อย่างแข็งขัน หากเป็นไปได้เตรียมอ่านเอกสารที่จะเรียนมาก่อนเข้าห้องเรียน
9. มุ่งมั่น จดจ่อต่อบทเรียน
– มีสมาธิ สนใจ ตั้งใจ เวลาอาจารย์สอน ไม่เข้าเรียน เพื่อพูดคุยกัน และรอเวลาเลิกเรียน
10. เป็นตัวของตัวเอง
– รู้จักคิด และทำด้วยความสามารถของตนเอง คิดเสมอว่าเราเป็นผู้หนึ่งที่มีศักยภาพสูง
11. มีความกระตือรือล้น
- ความสำเร็จเป็นของผู้ที่มีความริเริ่ม เป็นฝ่ายรุกที่จะมุ่งหน้า และคว้าความสำเร็จเป็นของตน
12. มีสุขภาพดี
- อย่าลืมใส่ใจต่อสุขภาพร่างกาย กิจกรรมนันทนาการ และกิจกรรมสังคม วางแผนจัดเวลาต่อสิ่งเหล่านี้ให้พอเหมาะ
13. เรียนอย่างมีความสุข
- พยายามเก็บเกี่ยวความน่าสนใจในบทเรียน คิดเสมอว่าทุกวิชาน่าเรียนรู้ น่าสนุกทั้งนั้น แล้วท่านจะพบว่า เราก็เรียนอย่างมีความสุขได้

โดย เอกพันธ์ หมื่นแกว้น รหัสนักศึกษา 51116940030